ชุดดับเพลิงมีกี่ชั้น แต่ละชั้นแตกต่างกันอย่างไร  


ชุดดับเพลิง

Categories:

ชุดดับเพลิงหรือชุดป้องกันสำหรับนักดับเพลิง ประกอบด้วยรองเท้า หมวก เสื้อผ้า และถุงมือ ปัจจุบันชุดดับเพลิงได้มีการพัฒนาก้าวไกล เปลี่ยนจากยุคแรกที่เป็นแจ็คเก็ตหนังมาเป็นการตัดเย็บด้วยวัสดุสังเคราะห์ ชุดดับเพลิงประกอบไปด้วย 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นนอกสุด ชั้นตัวกั้นน้ำ ชั้นตัวกั้นความร้อน และชั้นในสุด แต่ละชั้นนั้นแตกต่างกันอย่างไรไปดูกันเลย  

ชุดดับเพลิงชั้นนอกสุด  

ชุดดับเพลิงชั้นนี้ มีความสำคัญอย่างมากเพราะต้องสัมผัสกับความร้อนโดยตรง คุณสมบัติของชุดดับเพลิงชั้นนอกสุดต้องสามารถต้านทานการลุกติดไฟ จากการสัมผัสเปลวไฟและต้องปกป้องการฉีกขาดได้  วัสดุที่ใช้ทำชั้นนอกสุดจะต้องผ่านการทดสอบความต้านทานการดูดซึมน้ำ อย่างไรก็ตาม คุณภาพชุดดับเพลิงชั้นนอกสุดและเป็นที่ต้องการจริงต้องผ่านการทดสอบคือความสามารถในการต้านทานความร้อนสูงและทนต่อการใช้งานที่สมบุกสมบันในพื้นที่อัคคีภัย   

ชุดดับเพลิงชั้นตัวกั้นน้ำ  

ชุดดับเพลิงชั้นนี้ ช่วยรักษาคุณสมบัติความต้านทานความร้อนให้คงที่ ป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกซึมเข้ามายังส่วนที่เป็นฟองอากาศด้านใน เนื่องจากน้ำเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ในเสื้อผ้า ดังนั้น จะต้องแห้งอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย ชุดดับเพลิงชั้นตัวกั้นน้ำ ทำหน้าที่ในการเก็บน้ำที่ซึมมาจากชั้นนอกสุด ไม่ให้ซึมผ่านเข้าไปยังชั้นถัดไป คุณสมบัติอื่นๆ ที่ควรมี คือ  ความทนทาน กันความร้อน รวมถึงมีการระบายอากาศที่ดีและคงคุณภาพได้ในระยะยาว  

ชุดดับเพลิงชั้นกั้นความร้อน  

ชุดดับเพลิงชั้นนี้ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อนในตัวเองแต่หากมีน้ำเข้ามาแทนที่อากาศในช่องอากาศจะทำให้คุณสมบัติการเป็นฉนวนลดลง นอกจากชั้นนี้จะมีหน้าที่กั้นความร้อน ชุดดับเพลิงชั้นนี้ ควรมีคุณสมบัติในการสวมใส่สบายเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวด้วย   

ชุดดับเพลิงชั้นในสุด  

ชุดดับเพลิงชั้นในสุดที่ติดอยู่กับตัวผู้สวมใส่ ลักษณะเป็นผ้าปิดคลุม จึงมีความลื่นและอ่อนนุ่ม ทำให้เกิดความสบายเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วอีกทั้งยังซึมซับเหงื่อที่ไหลออกมาด้วย   

นอกเหนือจากการเลือกชุดดับเพลิงแต่ละชั้นให้มีคุณภาพแล้ว การตรวจสอบเป็นระยะและการบำรุงรักษา ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากชุดดับเพลิงนั้นต้องสัมผัสกับสารเคมี รวมถึงอนุภาคชีวภาพมากมายหลายชนิดระหว่างการปฏิบัติงานมีตั้งแต่กรด ด่าง เถ้า ของเหลวในร่างกายและอื่นๆ ทั้งหมดล้วนเป็นอันตรายต่อตัวชุดและผู้สวมใส่ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นจะต้องทำความสะอาดชุดดับเพลิงทันที เช่น การฉีดน้ำล้างชุดออกก่อนกลับสถานี แต่ห้ามซักชุดดับเพลิงที่บ้านหรือร้านซักผ้าตามสาธารณะเนื่องจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของสารเคมีเหล่านั้นได้